AlcotecAlcotec
  • หน้าแรก
  • สินค้าของเรา
    • สินค้าทั้งหมด
    • AED
      • สินค้าทั้งหมด
      • Lifeline DDU-100
      • Lifeline View
      • Lifeline ECG
      • Lifeline PRO
      • Lifeline DDU-100 Trainer
      • Lifeline View Trainer
      • AED Cabinet
    • Automated Chest Compression
      • Lifeline ARM
    • Oxygen Concentrator
      • สินค้าทั้งหมด
      • M9
      • LF05A
    • Ventilator
      • nHale (BiPAP)
    • CPR Manikin
      • Brayden Manikin
      • Prestan Manikin
    • CPR Feedback
      • Beaty
    • Pulse Oximeter
      • สินค้าทั้งหมด
      • PC-66A
      • MySign S
      • OxiPen
      • PC-60B1
    • Oxygen Monitor
      • MySign O
    • Capnograph
      • สินค้าทั้งหมด
      • PC9000C (CapnoCube)
      • PC9000B
    • Vital Sign
      • สินค้าทั้งหมด
      • PC900 Plus
      • PC900 Pro
    • Patient Monitor
      • สินค้าทั้งหมด
      • PC3000
      • UP7000
    • Medical Sensors
      • สินค้าทั้งหมด
      • SpO2 Sensors
      • Oxygen Sensors
      • Flow Sensors
    • Alcohol Breath Analyzer
      • สินค้าทั้งหมด
      • AlcoQuant 6020 Plus
      • ALP-1
      • ALC-1
      • iBlow 10
      • iBlow 10C
      • AL-8800
      • AL-7000
      • AL-6000
    • Gas Detector
      • สินค้าทั้งหมด
      • Mx6 ibrid
      • Ventis MX 4
      • GasBadge PRO
    • Drug Test
  • บริการของเรา
  • บริษัทของเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • แผนผังองค์กร
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสารและกิจกรรม
    • บล็อก
  • ติดต่อเรา
  • ENEN

วิธีการทำ CPR ก่อนใช้เครื่องกระตุกหัวใจ

กุมภาพันธ์ 15, 2022BlogPrimal

ช่วงเวลา 4 นาทีที่หัวใจหยุดเต้น อาจจะเป็นตัววัดความเป็นความตายของคนที่เรารักได้ เราทุกคนจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะไม่แน่ว่า เราอาจเป็นฮีโร่ที่ช่วยชุบชีวิตของคนที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้วให้ฟื้นคืนมาก็เป็นได้ 

วันนี้เราจะมาบอกวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังหมดสติด้วยการทำ PCR ในกรณีที่บริเวณดังกล่าวไม่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า และไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

1. ตรวจตราความปลอดภัย

เมื่อเจอผู้ป่วยที่กำลังนอนหมดสติอยู่ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องจำเอาไว้อยู่เสมอคือ อย่าผลีผลามวิ่งเข้าไปจับตัวผู้ป่วย เพราะอาจจะทำให้เราตกอยู่ในอันตรายได้เช่นกัน 

อันดับแรกให้เราตั้งสติให้มั่น อย่าตกใจ จากนั้นให้สำรวจบริเวณรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยว่ามีอันตรายหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ไฟฟ้ารั่ว สัตว์มีพิษ รถที่สัญจรไปมา หากสำรวจแล้วไม่มีอะไรที่เสี่ยงอันตรายก็สามารถทำการช่วยเหลือในขั้นตอนต่อไปได้ 

2. เรียกชื่อผู้ป่วย ตรวจสอบชีพจร และการหายใจ

ขั้นตอนต่อมาให้เราตรวจสอบว่าผู้ป่วยยังมีสติ สามารถพูดคุยหรือตอบคำตอบได้หรือไม่ โดยให้เราลองเรียกเสียงดัง ๆ หากผู้ป่วยเป็นคนที่เรารู้จักก็ให้เรียกชื่อ หรือตบที่ไหล่ผู้ป่วย หากไม่ได้รับการตอบรับก็ให้ตรวจสอบการหายใจ 

ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้ตัว และสามารถหายใจเองได้ จัดท่าทางให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคง และปฐมพยาบาลตามอาการ 

3. หากผู้ป่วยไม่ได้สติ และไม่หายใจให้ทำ CPR ทันที

หากว่าผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจให้ทำการช่วยเหลือโดยการทำ CPR อย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต 

4. โทรขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่

สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อมาก็คือ ให้รีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินที่เบอร์ 1669 หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน หากว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย ให้แบ่งหน้าที่ในการช่วยเหลือ โดยให้คนหนึ่งโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ อีกคนหนึ่งทำการช่วยเหลือโดยการทำ CPR ทันที แต่หากว่าบริเวณดังกล่าวไม่มีผู้อื่นอยู่เลย ให้เรากดโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน จากนั้นเปิดโหมดลำโพง เพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ และรีบทำ CPR 

สิ่งที่เราจะต้องบอกเจ้าหน้าที่ มีดังต่อไปนี้ 

  • รายละเอียดของผู้ป่วย เช่น อายุ เพศ อาการ 
  • สถานที่พบผู้ป่วย และเส้นทางที่สามารถเดินทางมาได้สะดวก 
  • บริเวณที่เราอยู่ไม่มีเครื่อง AED ที่สามารถใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ 
  • เบอร์ติดต่อกลับในกรณีฉุกเฉิน 

หากว่าเราไม่เคยช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินมาก่อน ให้ปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่บอกอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าช่วยเหลือผู้ป่วย

5. วิธีช่วยเหลือด้วยการทำ CPR

หลังจากที่แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้สติ และไม่หายใจ ให้ดำเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

  1. ให้ผู้ป่วยนอนราบบนพื้นแข็ง และสำรวจว่ามีสิ่งแปลกปลอมในปากของผู้ป่วยหรือไม่ หากว่ามีให้นำออก เพื่อไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันหรือขวางช่องทางลม 
  2. ดันหน้าผากและยกคางของผู้ป่วยเพื่อเปิดทางหายใจ
  3. ตรวจสอบการหายใจของผู้ป่วยอีกครั้ง โดยก้มหน้าไปฟังที่จมูกและปาก พร้อมสังเกตบริเวณหน้าอก หากว่ายังไม่หายใจ ให้เตรียมทำ CPR 
  4. จากนั้นให้เรานั่งคุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ วางสันมือข้างที่เราไม่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างประสานกันไว้ สิ่งที่เราจะต้องตระหนักเอาไว้ให้ดีก็คือ เราจะต้องวางตำแหน่งของมือให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บอย่างกระดูกหักเพิ่มเติม วิธีที่ง่ายที่สุดคือให้วางสันมือไว้ตรงกลางหน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง แล้วเหยียดนิ้วมือตรง เกี่ยวมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน เหยียดแขนตรง แล้วโน้มตัวตั้งฉากกับหน้าอกผู้บาดเจ็บ จากนั้นกดหน้าอกของผู้ป่วย สำหรับผู้ใหญ่กดให้ลึกลงไปประมาณ 5 ซม. สำหรับเด็กกดลึก ⅓ ของความลึกทรวงอก และสำหรับเด็กอ่อนให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกด ในความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาทีอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีการนับ หนึ่ง และสอง และสาม เป็นจังหวะไปเรื่อย ๆ โดยให้กดลงเมื่อนับตัวเลข และปล่อยตอนคำว่า “และ”
  5. ในกรณีที่เราเคยฝึกหรือมีความชำนาญในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้กดหน้าอกสลับกับการเป่าปาก โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง เป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง  

ข้อควรระวังในการทำ CPR คือ อย่ากดแรงเกินไป อย่ากดเบาไป และอย่ากดเร็วเกินไป ที่สำคัญ หากระหว่างการทำ CPR ผู้ป่วยอาเจียน ให้นำเศษอาหารออกจากช่องปากให้หมดก่อนทำ CPR ต่อ ไม่เช่นนั้นทางเดินหายใจอาจจะอุดตันได้ 

ในกรณีที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย สามารถสลับกันช่วยเหลือได้ และให้เราทำ CPR ไปเรื่อย ๆ จนกว่าหน่วยแพทย์หรือทีมกู้ภัยจะมา หากว่าสามารถนำส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง ก็ควรทำ CPR ระหว่างการเดินทาง เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต 

6. ส่งต่อผู้ป่วยให้เจ้าหน้าที่

เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึง และผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว ให้ทำการช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED เพื่อกระตุ้นหัวใจ โดยขั้นตอนนี้จะต้องให้ทุกคน รวมถึงตัวเราถอยไปจากผู้ป่วย เพื่อป้องกันอันตรายจากการช็อตไฟฟ้า 

7. ส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล

เมื่อทำการช่วยเหลือด้วยเครื่องกระตุกหัวใจ เจ้าหน้าที่จะนำส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป

นอกจากการทำ CPR แล้ว การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตมากขึ้น หากว่าท่านต้องการติดตั้งเครื่อง AED คุณภาพสูงจาก Alcotec สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือติดต่อเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-862-0254 , 02-862-0959 และทาง E-Mail: customersupport@alco-tec.co.th 

ที่มา:

  1. มารู้จัก . . การทำ CPR วิธีปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://bangpakok3.com/care_blog/view/39#:~:text=เริ่มทำการกดหน้าอก%20โดย,เพลง%20“สุขกันเถอะเรา”
  2. 7 ขั้นตอน CPR. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/41789-7%20ขั้นตอน%20CPR.html
  3. 6 ขั้นตอนการช่วยคนหมดสติให้ฟื้นคืนชีพ (CPR). สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.nakornthon.com/article/detail/6ขั้นตอนการช่วยคนหมดสติให้ฟื้นคืนชีพ-cpr
Previous post เครื่องปั๊มหัวใจอัตโนมัติ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยต่อเวลาชีวิต Next post เครื่องผลิตออกซิเจน จำเป็นต่อการฟื้นฟูสุขภาพอย่างไร

บริษัท แอลโคเทค จำกัด

ทีมบริการลูกค้าของ Alcotec มุ่งมั่นที่จะให้บริการลูกค้าทั่วประเทศ ภารกิจของเราคือการบริการอย่างมืออาชีพ สม่ำเสมอและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าทุกราย ทุกสาย และทุกวันทำการ

สินค้าของเรา

  • AED
  • Automated Chest Compressor
  • Oxygen Concentrator
  • Ventilator
  • CPR Manikin
  • CPR Feedback
  • Pulse Oximeter
  • Oxygen Monitor
  • Capnograph
  • Vital Sign
  • Patient Monitor
  • Medical Sensors
  • Alcohol Breath Analyzer
  • Gas Detector
  • Drug Test

ติดต่อเรา

77/152 อาคาร สินสาธร ชั้น 35 ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพ 10600
+66-2862-0254
+66-2862-0959
+66-2862-0254 ต่อ 3
customersupport@alco-tec.co.th
© 2022 Alcotec Company Limited.