Single Drug Test
Multi Drug Test
- 5 substance: MET, THC, MOP, COC, PCP
- 4 substance: MET, THC, MOP, COC
- 3 substance: OPI, MOP, INN
- 2 substance: MET, THC

MET Test Card - Methamphetamine
ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์ประกอบด้วยเมทแอมฟีตะมีนผสมกับกาเฟอีน มีชื่ออื่นๆเรียก เช่น ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาตื่นตัว ยาเพิ่มพลัง นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาย จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441
COC Test Card - Cocaine
โคเคน คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต
THC Test Card – Marijuana
กัญชา หรือในภาษาไทยเรียกว่า ปุ๊น หรือเนื้อ เป็นชื่อของพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่านและทอผ้า
OPI Test Card – Opiates
ฝิ่น เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ที่เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า
แอลคะลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)
2. ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติดแต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ
MOP Test Card - Morphine
มอร์ฟีน ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว
ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก
BZO Test Card - Benzodiazepine
เบนโซไดอะซีปีน เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) และเริ่มมีการใช้ในวงการแพทย์มากขึ้นในเวลาต่อมา ยากลุ่มนี้มีผลต่อสารสื่อประสาทบางตัวที่มีชื่อว่า Neurotransmitter gamma-aminobutyric acid (GABA) ในสมอง ด้วยอิทธิพลและฤทธิ์ของยากลุ่มนี้จะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับยามีอาการง่วงนอน คลายความวิตกกังวล สงบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ช่วยยับยั้งอาการของโรคลมชัก ใช้รักษาอาการพิษสุราเรื้อรัง รวมไปถึงใช้เป็นยาเตรียมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับหัตถการทางทันตกรรม
ในทางคลีนิก กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีนที่มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์สั้นไปจนถึงระยะเวลาปานกลางจะถูกนำไปบำบัดรักษาผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ สำหรับตัวที่ออกฤทธิ์ได้เป็นเวลานานๆจะถูกนำไป ใช้บำบัดอาการวิตกกังวล และผู้ป่วยที่มีการใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานานๆอาจได้รับผลข้างเคียงของยาติดตามมาได้เช่นกัน
PCP – Phencyclidine
มักรู้จักในชื่อของ PCP หรือชื่อทางการค้า เช่น Angel Dust , Embalming fluid , Killer weed , Rocket fuel , Supergrass , Ozone , Wack , Killer joint ยาเสพติดชนิดนี้ถือกำเนิดเมื่อตอนช่วงยุคทศวรรษ 2490 ในรูปของยาชา (anesthetic pharmaceutical drug) แต่ตอนหลังถูกห้ามใช้เพราะว่ามีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาหลอนประสาท(dissociative hallucinogenic) เช่นเดียวกับยาเค ในภายหลังจำนวนอนุพันธ์สังเคราะห์ของ PCP ได้รับการขายเป็นยาเสพติดที่ไว้ใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและไม่ได้ใช้ในการแพทย์
TCA - ยาแก้ซึมเศร้า
ยาแก้ซึมเศร้า ยาในกลุ่มนี้เป็นยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยจิตเวช และเป็นกลุ่มยาที่เป็นสาเหตุสำคัญที่พบในผู้ป่วยภาวะเป็นพิษจากยา เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูง เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง
BAR - สารยานอนหลับ
บาร์บิเชอริต เป็นยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง มักใช้เป็นยาระงับประสาทหรือเป็นยาสลบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาคลายกังวล, ยานอนหลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ การใช้บาร์บิเชอริตอาจทำให้เกิดการติดยาทั้งทางกายและทางจิตใจ ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนแทนการใช้บาร์บิเชอริต ซึ่งยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนมีความเสี่ยงด้านการใช้ยาเกินขนาดและการติดยาต่ำกว่าบาร์บิเชอริต อย่างไรก็ตาม บาร์บิเชอริตยังคงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อหลายวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสลบหลัก, รักษาโรคลมชัก, รักษาไมเกรนเฉียบพลัน ตลอดจนใช้เพื่อทำการุณยฆาตหรือโทษประหารชีวิต
MDMA - ยาอีบริสุทธิ์
สาร/ยาเมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน(Methylenedioxymethamphetamine ย่อว่า MDMA) จัดอยู่ในสาร/ยาเสพติดประเภทที่ 1 ในต่างประเทศมีการลักลอบขายในตลาดมืดโดยใช้ชื่อการค้าว่า “Ecstasy” ประเทศไทยจะเรียกสารเมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนว่า “ยาอี” ซึ่งย่อมาจากคำว่า Ecstasy ยาชนิดนี้มีฤทธิ์ต่อสมองและต่อจิตประสาท/จิตใจ กระตุ้นให้ รู้สึกเคลิบเคลิ้ม ลดความกังวล ทำให้รู้สึกสงบภายในจิตใจ เกิดความมั่นใจในตนเอง อาจทำให้มีอาการประสาทหลอนอย่างอ่อนๆ และกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเพียงเล็กน้อย ทางการแพทย์เคยทดลองนำ MDMA มาใช้บำบัดอาการทางจิตเวช แต่ขณะเดียวกันก็ถูกนำมาใช้ในสถานบันเทิงต่างๆเพื่อวัตถุประสงค์เป็นยากระตุ้นความบันเทิง (Recreational drug) และเป็นที่แพร่ระบาดในกลุ่มคนอายุประมาณ 15–64 ปี แต่ด้วยเป็นสารที่มีฤทธิ์เสพติดและสามารถกระตุ้นการเกิดพิษ(ผลข้างเคียงรุนแรง)ต่อร่างกายได้อย่างรุนแรง การเสพสารนี้เพียงครั้งเดียวก็ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง(ผลข้างเคียง)ต่างๆตามมาได้มากมาย
การออกฤทธิ์ของสาร MDMA คือ สาร MDMA จะกระตุ้นสมอง ทำให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทบางประเภทของเซลล์ประสาทก่อนการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท(Presynpse) ที่เรียกสารที่ออกฤทธิ์ที่จุดนี้ของสมองว่า “Presynaptic releasing agent” เช่น Serotonin, Norepinephrine, และ Dopamine ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารสื่อประสาทดังกล่าว ทำให้การทำงานของสมองและสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้มีอาการเคลิ้มสบาย หมดกังวล แต่ก็มีความตื่นตัวของร่างกาย หัวใจเต้นเร็ว และเกิดภาพหลอน การเสพสารนี้บ่อยๆต่อเนื่อง จะส่งผลให้ติดยา และจะเกิดอาการถอนยาเมื่อหยุดการเสพตามมา
Need more details for each of the product?
OUR CLIENT





































