การทำ CPR คืออะไร
การทำ CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation คือ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้กลับมาเต้นตามปกติ มีการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนกลับสู่สภาพเดิม เพราะหากคนเราขาดอากาศหายใจเป็นระยะเวลา 3 – 5 นาที จะทำให้ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เซลล์สมองจะตายลง จนเกิดอาหารโคม่าและเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นการทำ CPR จึงช่วยป้องกันไม่ให้ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจน
วิธีการทำ CPR กู้ชีพที่เหมาะกับช่วงวัย กดลึกแค่ไหน มีขั้นตอนยังไงบ้าง
CPR เด็กเล็ก ( อายุตั้งแต่ 1 เดือน – 1 ปี)
- โทรแจ้ง 1669
- นั่งคุกเข่าข้างลำตัวเด็ก และใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางกดบริเวณกระดูกกึ่งกลางหน้าอกระหว่างราวนม
- กดด้วยอัตราความเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยกดลึก ⅓ ของหน้าอก
- หลังการกดแต่ละครั้งจะต้องปล่อยหน้าอกให้คืนตัวสุด โดยห้ามให้นิ้วมือหลุดออกจากผนังหน้าอกเด็ดขาด
CPR เด็กโต (อายุตั้งแต่ 1 – 8 ปี)
- ตบบ่าเรียกเพื่อเช็กว่ามีการตอบสนองหรือไม่ หากไม่มีการตอบสนองให้โทร 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
- เปิดเสื้อดูว่าหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจให้เริ่ม CPR
- จัดให้ผู้ป่วยนอนบนพื้นราบแข็ง จากนั้นนั่งคุกเข่าข้างลำตัวของเด็ก
- ใช้ส้นมือวางบริเวณกระดูกกึ่งกลางหน้าอก ระหว่างราวนม สามารถใช้มืออีกข้างที่ว่างวางบนหน้าผาก เชิดหน้าเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
- กดด้วยอัตราความเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยกดลึก ⅓ ของหน้าอก
- หลังการกดแต่ละครั้งจะต้องปล่อยหน้าอกให้คืนตัวสุด โดยห้ามให้นิ้วมือหลุดออกจากผนังหน้าอกเด็ดขาด
CPR ผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป)
- ตบบ่าเรียกเพื่อเช็กว่ามีการตอบสนองหรือไม่ หากไม่มีการตอบสนองให้โทร 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
- นำเครื่อง AED ที่มีอยู่บริเวณเกิดเหตุมาใช้
- เปิดเสื้อดูว่าหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจให้เริ่ม CPR
- จัดให้ผู้ป่วยนอนบนพื้นราบแข็ง จากนั้นนั่งคุกเข่าข้างลำตัวของผู้ป่วย
- ใช้ส้นมือวางบริเวณกระดูกกึ่งกลางหน้าอก ระหว่างราวนม และใช้มืออีกข้างประสานไว้
- กดด้วยอัตราความเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยกดลึก ⅓ ของหน้าอก
- หลังการกดแต่ละครั้งจะต้องปล่อยหน้าอกให้คืนตัวสุด โดยห้ามให้มือลอยจากหน้าอก เพราะอาจจะทำให้ตำแหน่งการทำ CPR คลาดเคลื่อนได้
- กดหน้าอก 30 ครั้ง และช่วยหายใจ 2 ครั้ง หรือกดหน้าอกเพียงอย่างเดียวได้หากไม่สะดวกช่วยหายใจ
- เมื่อทำการกดหน้าออกนาน 2 นาที ต้องหยุดเพื่อเช็กการตอบสนองของผู้ป่วย โดยห้ามหยุดเกิน 10 วินาทีทุกครั้ง
- หากผู้ช่วยเหลือรู้สึกเหนื่อย สามารถเปลี่ยนตัวผู้ทำ CPR ได้ เพราะถ้าฝืนกดหน้าอกต่อ ประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตจะลดลง
ข้อควรระวังในการทำ CPR
- ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรง ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที
- กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร
- ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุด หลังจากกดแต่ละครั้ง หากไม่ปล่อยให้คืนตัวจนสุด จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
เรียนรู้การทำ CPR นาทีแห่งการต่อชีวิตผู้ป่วย
การทำ CPR แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่สามารถต่อชีวิตผู้ป่วยให้กลับมาหายใจเป็นปกติได้ ซึ่งผู้ทำควรมีสติครบถ้วน ไม่ตื่นตกใจ และทำอย่างระมัดระวัง เพราะหากช่วยผิดวิธี อาจทำให้กระดูกหัก หัวใจช้ำ และอวัยวะอื่น ๆ ตกเลือดได้ หากเป็นไปได้ควรมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ด้วย ALCOTEC จึงอยากเชิญชวนให้ทุก ๆ คนมา ฝึกการทำ CPR เพื่อเตรียมความพร้อมหากเจอเหตุฉุกเฉิน เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อใดจะถึงคราวที่เราต้องกลายเป็นผู้ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยเหล่านั้น โดยเรามีบริการ CPR & AED Training การอบรมหลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพจากครูฝึกสอนมืออาชีพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องในอนาคต