สถานการณ์ฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นระหว่างรอทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ภัยมาถึง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยต่อชีวิตของผู้ป่วย ก่อนส่งตัวไปโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากการทำ CPR แล้ว การใช้เครื่อง AED ก็เป็นอีกวิธีที่สำคัญ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องใหม่ของใครหลายคน เพราะในประเทศไทยก็ยังมีการติดตั้งจำนวนไม่มาก บางคนอาจรู้จัก แต่ไม่รู้ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักวิธีใช้เครื่อง AED ตลอดจนข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจ หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถใช้ได้อย่างถูกวิธี
เครื่อง AED คืออะไร
AED (Automated External Defibrillator) คือ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อพบเจอผู้หมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เพราะเครื่อง AED จะปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น หรือเต้นผิดจังหวะ กลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง เราสามารถพบเห็นเครื่อง AED ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ภายในห้างสรรพสินค้า อาคาร สำนักงาน โรงแรม รถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสีย เมื่อต้องพบเจอผู้ป่วยแบบไม่คาดคิด
การใช้เครื่อง AED มีความสำคัญอย่างไร
ในยามฉุกเฉิน ทุกวินาทีล้วนมีความสำคัญ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เพราะหากสมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที สมองอาจจะได้รับความเสียหายได้ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในสถานการณ์เช่นนี้ จึงนิยมติดตั้งเครื่อง AED ไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีคนสัญจรจำนวนมาก เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที โดยการทำ CPR ร่วมกับการใช้เครื่อง AED ภายใน 4 นาที จะสามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ถึง 10 เท่า
มาดูโอกาสการรอดชีวิตกับระยะเวลาในการใช้เครื่อง AED หลังจากพบผู้ป่วย
- การช็อกไฟฟ้าทันที 90%
- 2 นาที 80%
- 3 นาที 70%
- 4 นาที 60%
- 5 นาที 50%
- 10 นาที ไม่สามารถประเมินโอกาสการรอดชีวิตได้
ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
เครื่อง AED ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เพื่อให้ทุกคนสามารถทำได้ ระหว่างที่ทีมแพทย์ และหน่วยกู้ภัยยังเดินทาง เพียงปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้เครื่อง AED ดังต่อไปนี้ ก็จะสามารถเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
สิ่งที่ต้องทำก่อนการใช้เครื่อง AED
- ควรตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ป่วยก่อนเข้าช่วยเหลือ
- หากพบว่าหมดสติ ให้ปลุกเรียก ตบไหล่เพื่อเรียกสติกลับคืนมา
- จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย นอนราบไปกับพื้นที่มีความแข็ง
- ขอความช่วยเหลือจากคนโดยรอบ หรือโทรแจ้ง 1669 จากนั้นให้นำเครื่อง AED มาเตรียมไว้
- ประเมินผู้ป่วย หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก ให้กดหน้าอกทันที
- เริ่มทำการช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการทำ CPR
วิธีการใช้เครื่อง AED
- เปิดเครื่องและถอดเสื้อผู้ป่วยออก
เปิดเครื่อง AED และถอดเสื้อของผู้ป่วยออก จากนั้นเช็ดบริเวณหน้าอกให้แห้งสนิท โดยก่อนจะเริ่มใช้งานต้องแน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกน้ำ - วางแผ่นกระตุ้นหัวใจไว้บนหน้าอกของผู้ป่วย
วางแผ่นกระตุ้นหัวใจให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว โดยแผ่นหนึ่งติดบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกแผ่นหนึ่งติดบริเวณชายโครงด้านซ้าย ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟฟ้าจากแผ่นกระตุ้นหัวใจต่อกับตัวเครื่องเรียบร้อย - เครื่องจะวิเคราะห์จังหวะการเต้นหัวใจของผู้ป่วย
เพื่อตรวจสอบและค้นหาคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ โดยเครื่อง AED จะวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจหลังจากติดแผ่นกระตุ้นหัวใจ โดยบางเครื่องจะวิเคราะห์ให้โดยอัตโนมัติ แต่บางเครื่องจะต้องกดปุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์ ขณะนี้ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด - หากผู้ป่วยมีอาการฉุกเฉิน เครื่องจะแนะนำให้ทำการกระตุ้นหัวใจ
เมื่อวิเคราะห์เสร็จสิ้น เครื่องจะแจ้งผลและระบุว่าจะให้ทำการกระตุ้นหัวใจเท่าที่มีความจำเป็น หรือช่วยเหลือด้วยการทำ CPR ก็เพียงพอ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง AED
- ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด ขณะที่เครื่องเริ่มวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ
- ระหว่างที่ทำการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า ผู้ช่วยเหลือและบุคคลอื่น ๆ จะต้องถอยห่างจากผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัย
การใช้เครื่อง AED ที่มีคุณภาพตามสถานที่ต่าง ๆ
ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการติดตั้งเครื่อง AED ในปริมาณน้อย รวมทั้งการติดตั้งเครื่อง AED ในประเทศไทยเป็นทางเลือกสำหรับเจ้าของสถานที่หรือบุคคลทั่วไป แต่การติดตั้งไว้ ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ หากหน่วยงานหรือเจ้าของสถานที่ใดสนใจติดตั้งเครื่อง AED เราขอแนะนำเครื่องกระตุกหัวใจ AED คุณภาพสูงจาก Alcotec ที่สามารถช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด