หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ แน่นอนว่าเมื่อหัวใจทำงานผิดปกติหรือไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ก็จะส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ เกิดความผิดปกติตามไปด้วย ดังนั้น ในบทความนี้ Alcotec จะพาคุณมาทำความรู้จักกับภาวะหัวใจขาดเลือด พร้อมอาการและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด รวมถึงแนวทางการรักษาให้คุณได้ทราบกัน
ภาวะหัวใจขาดเลือดคืออะไร
โรคหัวใจขาดเลือด คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน จากการมีไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือด จนเลือดไหลผ่านไม่สะดวก และทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือไม่มีเลย ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ และอาจรุนแรงจนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
อาการของผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นอย่างไร
- อาการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะขณะออกแรง
- รู้สึกแน่น ๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอก หรือค่อนมาทางซ้าย
- หายใจไม่สะดวก
- ปวดร้าวกราม สะบักหลัง แขนซ้าย และหัวไหล่
- จุกบริเวณคอหอย หรือบางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่
- เหงื่อออก หน้าซีด เหมือนจะเป็นลม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งผู้ที่มีพฤติกรรม หรือมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หลายข้อ ก็จะมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้มากกว่า และอาจจะรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว หรือพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดมีดังนี้
- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง (คอเลสเตอรอลรวม หรือคอเลสเตอรอลแอลดีแอลชนิดร้าย)
- ไขมันคอเลสเตอรอลเอช ดีแอลต่ำ (ชนิดดี)
- ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักมากและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
- ผู้ที่มีภาวะเครียดเป็นประจำ โกรธ โมโหง่าย
- เพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี โดยเพศชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
- เพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจขาดเลือด
ภาวะหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเพียงการรักษาเพื่อควบคุมโรคเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สำหรับแนวทางการรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การรักษาด้วยการใช้ยา (ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง)
- ยาป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือดเข้ากับผนังของหลอดเลือดแดง ที่ส่งผลให้เกิดการทำลายของผนังหลอดเลือด และอาจทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตันมากขึ้น
- ยาช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ลดการทำงานของหัวใจ เพื่อช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
- ยาสลายลิ่มเลือดที่อุดกั้นหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
2. การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูน
เป็นวิธีขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการใช้สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่โคนขาหรือข้อมือเข้าไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ แล้วทำให้บอลลูนที่ปลายของสายสวนหัวใจพองขึ้น เพื่อทำการขยายหลอดเลือด
3. ผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจใหม่
การผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจใหม่ โดยการใช้หลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำที่ขา มาต่อกับหลอดเลือดหัวใจเพื่อเพิ่มทางเดินของเลือดที่จะมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
สรุปบทความ
ภาวะหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่ทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว หรือที่เรียกว่า หัวใจวาย ซึ่งผู้ที่เกิดภาวะนี้จะต้องรับการปฐมพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ดังนั้น ผู้ที่เป็นภาวะหัวใจขาดเลือด หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ ก็ควรจะมีเครื่องกระตุกหัวใจ AED ติดบ้าน หรือสถานที่สำคัญเอาไว้ นอกจากนี้บุคคลใกล้ตัวของผู้ป่วยก็ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องนี้เอาไว้ เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น สำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้ และต้องการเครื่อง AED ติดบ้านไว้ ก็สามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าหรือสั่งซื้อได้เลยที่ เบอร์โทรศัพท์ 02-862-0254 , 02-862-0959 และทาง E-Mail: customersupport@alco-tec.co.th
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานเครื่อง AED เรามีคอร์สอบรมการใช้งาน AED พร้อมใบประกาศ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเครื่อง AED ได้ถูกวิธี หรือใครที่ต้องการเครื่อง AED Defibtech คุณภาพดี พร้อมใช้งาน