เครื่องผลิตออกซิเจน สำหรับใช้ภายในบ้าน
ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินชื่อของ “เครื่องผลิตออกซิเจน” เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ต้องรอเตียงและมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ จึงมีการนำเครื่องนี้มาใช้เพื่อประคองอาการในเบื้องต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เครื่องผลิตออกซิเจน หรือ Oxygen Concentrator เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ โดยได้มีการพัฒนาสำหรับผู้ป่วยที่กลับมาพักฟื้นที่บ้าน
โดยปกติแล้ว คนทั่วไปที่สุขภาพดีจะมีค่าอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) มากกว่า 95% ขึ้นไป ดังนั้นหากวัดค่าออกซิเจนแล้วมีค่าต่ำกว่า 94% ซึ่งจะทำให้มีอาการหายใจสั้น เร็ว หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ไอหรือหายใจมีเสียงหวีด เหงื่อออก และอาจจะทำให้สีผิวเปลี่ยนแป
ลงไปจากปกติ จะต้องพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาถึงอาการผิดปกติโดยด่วน
สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน และแนะนำให้ซื้อเครื่องทำออกซิเจน ซึ่งก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อ ควรมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
1. ต้องใช้เครื่องขนาดเท่าไร
เครื่องออกซิเจนมีหลายรุ่นหลายขนาดให้เลือก ซึ่งหน่วยของเครื่องจะเป็น “ลิตร/นาที (LPM)” หมายถึง อัตราการไหลของออกซิเจนใน 1 นาทีนั่นเอง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนก็จะมีความต้องการอัตราการไหลของออกซิเจนที่แตกต่างกันออกไปตามอาการ ซึ่งญาติหรือผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เพื่อเลือกซื้อได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีหลักในการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
- ขนาด 3-6 ลิตรต่อนาที สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ รู้สึกหอบหรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มปริมาณออกซิเจนภายในบ้าน และผู้ที่รู้สึกอ่อนเพลียโดยมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีออกซิเจนไม่เพียงพอ สามารถใช้ร่วมกับ Nasal Cannula ในการให้ออกซิเจน ซึ่งเป็นวิธีที่รบกวนผู้ป่วยน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ
- ขนาด 6-8 ลิตรต่อนาที เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ รวมถึงผู้ป่วยที่เจาะคอ สามารถใช้ร่วมกับ Nasal Cannula หน้ากากพร้อมถังเก็บออกซิเจน และหน้ากากสำหรับผู้ป่วยเจาะคอที่ต่อกับกระปุกให้ความชื้น
- ขนาด 8-10 ลิตรต่อนาที เหมาะสำหรับผู้ป่วยเจาะคอ สามารถใช้ร่วมกับหน้ากากพร้อมถังเก็บออกซิเจน และหน้ากากสำหรับผู้ป่วยเจาะคอต่อกับกระปุกให้ความชื้น และหากว่าเป็นเครื่องที่ใช้แรงดันสูง 20 Psi จะสามารถใช้กับกระปุกให้ความชื้นชนิดปรับเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนและความชื้นได้อีกด้วย
2. ต้องนำไปใช้ในสถานที่ใดบ้าง
ญาติหรือผู้ป่วยหลายคนมักจะถามว่า ควรจะซื้อเครื่องแบบใช้ในบ้าน หรือซื้อเครื่องที่พกพาไปนอกสถานที่ได้ และสามารถใช้เครื่องเดียวได้หรือไม่ ความจริงแล้ว เราไม่แนะนำให้ซื้อเครื่องเดียวใช้ทุกสถานที่
หากว่าเราต้องการเครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบ้านสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไป เราควรจะซื้อแบบที่เสียบไฟบ้าน และติดตั้งในบ้านไปเลย เพราะจุดประสงค์เราคือ เพิ่มความสดชื่นภายในบ้าน และลดความอ่อนล้าจากอากาศและจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และหากว่าเรามีผู้ป่วยติดเตียงในบ้าน ที่ต้องการออกซิเจนตลอดเวลา ให้เราซื้อแบบใช้ในบ้านและใช้ไฟในบ้านเช่นเดียวกัน
หากว่าผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดจะต้องเดินทางออกนอกสถานที่บ่อย ๆ หรือต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ก็ควรซื้อเครื่องแบบพกพา เพื่อสะดวกแก่การเคลื่อนย้าย โดยพิจารณาที่ชั่วโมงการเดินทางและการใช้งานเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนระหว่างการเดินทางนั่นเอง
กล่าวโดยสรุปก็คือ หากว่าผู้ป่วยไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหนและอยู่ติดบ้าน หรือใช้งานในบ้านทั่ว ๆ ไป ก็ให้เลือกซื้อเครื่องแบบใช้ในบ้านไปเลย แต่หากว่าผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องเดินทาง ก็ควรซื้อเครื่องพกพาแยกต่างหาก
3. ผู้ป่วยมีความต้องการพิเศษหรือไม่
สำหรับผู้ป่วยเจาะคอ หรือผู้ป่วยที่ต้องพ่นละอองยาเป็นประจำ นอกจากการดูที่ปริมาณการไหลของออกซิเจนแล้ว จะต้องพิจารณาถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมกับผู้ป่วยได้ และรุ่นที่ใช้มีข้อจำกัดหรือไม่นั่นเอง
ดังนั้น หากว่าเราจะเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ เราควรจะถามแพทย์เจ้าของไข้อย่างละเอียดว่าจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องให้ความชื้น เครื่องพ่นยา และอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องสอบถามก็คือ ผู้ป่วยจำเป็นต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลาหรือไม่ เพื่อใช้ในการคัดเลือกเครื่องที่เหมาะสมแก่การใช้งานต่อไป
4. งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
แน่นอนว่าเรื่องงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการใช้งานนั้นเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
เชื่อว่าหลายคนพยายามซื้อเครื่องออกซิเจนให้ได้คุณภาพดีที่สุด ในราคาที่เราสามารถจ่ายไหว แต่นอกจากราคาของเครื่องแล้ว เราก็ควรจะสอบถามถึงค่าบำรุงรักษา ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถคำนวณถึงค่าใช้จ่ายในอนาคต ที่สำคัญอย่าลืมถามเรื่องการรับประกัน เพราะแม้ว่าจะจ่ายในราคาที่สูงกว่าเจ้าอื่นเล็กน้อย แต่หากว่ามีระยะเวลาประกันสินค้ามากกว่า ก็คุ้มค่าที่จะจ่ายนั่นเอง
5. บริการหลังการขาย
บริการหลังการขายเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจ เพราะเป็นเครื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้ป่วย หากเครื่องมีปัญหา หรือเราไม่แน่ใจในเรื่องของการใช้งาน การสอบถามผู้ผลิตเพื่อความมั่นใจหรือส่งซ่อมในระยะเวลาอันรวดเร็ว ก็ช่วยให้เราสบายใจมากยิ่งขึ้น
หากว่าเรายังไม่แน่ใจ ลองค้นหาการให้บริการในอินเทอร์เน็ต หรือลองทักเข้ามาสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในช่องทางต่าง ๆ เพื่อประเมินคุณภาพและความรวดเร็วของการให้บริการนั่นเอง
Alcotec เรานำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องผลิตออกซิเจนคุณภาพสูงของทาง Lepu Medical สำหรับใช้ในบ้าน มีให้เลือกด้วยกัน 2 รุ่น ขนาด 3 ลิตร และ 5 ลิตร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าได้ที่นี่ หรือติดต่อเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-862-0254 , 02-862-0959 และทาง E-Mail: customersupport@alco-tec.co.th
ที่มา:
- แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161115132535.pdf
- BEFORE YOU BUY AN OXYGEN CONCENTRATOR. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 จาก https://www.amrita.edu/news/before-you-buy-oxygen-concentrator
- ออกซิเจนบำบัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 จาก https://www.pobpad.com/